ในปัจจุบัน เราต่างใช้ชีวิตอยู่ในเมืองที่รายล้อมไปด้วยหลากหลายปัญหา เช่น ปัญหาขยะ น้ำเน่าเสีย ปัญหาทางเท้า หรือการจราจรติดขัด ปัญหาเหล่านี้ล้วนเป็นหน้าที่ของภาครัฐในการจัดการแก้ไข ผ่านการจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน “เรา” ในฐานะประชาชนผู้จ่ายภาษี คงจะดีไม่น้อยหากสามารถเข้าไปมีส่วนในการร่วมออกแบบการใช้งบประมาณเพื่อพัฒนาเมืองของเราเองให้ดีขึ้นและเป็นไปอย่างที่ต้องการได้
หลายประเทศเริ่มเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับงบประมาณได้ในรูปแบบที่เรียกว่า “งบประมาณแบบมีส่วนร่วม” (Participatory Budgeting) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการมีส่วนร่วมที่ให้ประชาชนในชุมชนสามารถตัดสินเกี่ยวกับการใช้จ่ายงบประมาณเองได้
ทีม Punch Up & WeVis , องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศ) , Glow Story , Hand Social Enterprise , Good Society Thailand และ Social Integrity Architecture and Mechanism Design Lab จึงตั้งใจพัฒนาแพลตฟอร์มนี้ในรูปแบบเทคโนโลยีภาคประชาชน (Civic Tech) เพื่อเปิดเผยข้อมูลให้ทุกคนในฐานะผู้เสียภาษี ได้เข้าถึง เข้าใจ และเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบงบประมาณของกรุงเทพฯ โดยเริ่มจากคำถามที่อาจจะคาใจหลายๆ คน ว่าตอนนี้กรุงเทพฯ วางแผนแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่มีอยู่อย่างไร? ใช้งบประมาณเท่าไหร่? และประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ได้อย่างไรบ้าง? นอกจากนี้ เรายังมีความตั้งใจที่จะนำความคิดเห็นจากการรวบรวมในครั้งนี้ยื่นต่อผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาต่อยอดการใช้จ่ายงบประมาณให้ตรงจุดเพื่อแก้ปัญหาที่มีอยู่ในสังคมต่อไป
โปรเจกต์นี้นับเป็นโปรเจกต์ทดลองสร้างแพลตฟอร์มรูปแบบออนไลน์ “งบประมาณแบบมีส่วนร่วม” ให้กับจังหวัด/เมืองต่างๆ ในประเทศไทย โดยเริ่มจากเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ เป็นต้นแบบ แล้วพัฒนาไปสู่เมืองอื่น ๆ จึงอยากเชิญชวนทุกคนมามีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมให้ดีขึ้น เริ่มต้นจากการรู้ข้อมูลการวางแผน การใช้งบประมาณของกรุงเทพฯ และเป็นส่วนหนึ่งในการออกแบบงบประมาณ ผ่านการแสดงความคิดเห็นเสนอโครงการกับงบประมาณในการพัฒนาเมือง
เราเชื่อว่าอย่างน้อย จุดเริ่มต้นนี้ผลักดันให้เกิดงบประมาณแบบมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในประเทศไทยได้ !
ทางทีมผู้พัฒนา ได้ใช้ข้อมูลจากเว็บไซต์ทางการของกรุงเทพฯ ตามลิงก์ที่แนบไว้ แต่จากโครงสร้างของชุดข้อมูลที่ไม่ได้จัดทำในรูปแบบเดียวกันอย่างเป็นระบบ บางชุดข้อมูลเป็นไฟล์นามสกุล pdf ทำให้ทางทีมต้องมีการเรียบเรียงและตรวจสอบจากข้อมูลหลายแห่ง ซึ่งอาจส่งผลต่อความแม่นยำของชุดข้อมูลได้ นอกจากนี้งบประมาณที่แสดงในเว็บไซต์ ไม่ใช่งบที่ทำการเบิกจ่ายใช้จริงๆ แต่เป็นข้อมูลตามข้อบัญญัติของแต่ละปีงบประมาณ
ทางทีมมีความตั้งใจที่พัฒนาทุกโปรเจกต์ให้เป็น Open Source และเปิดข้อมูลเป็น Open Data ภายใต้เงื่อนไข Creative Commons Attribution-ShareAlike License คือสามารถนำไปเผยแพร่และดัดแปลงได้ โดยต้องระบุที่มา แต่ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า และต้องเผยแพร่งานดัดแปลงโดยใช้สัญญาอนุญาตชนิดเดียวกัน
หากมีข้อสงสัยต้องการสอบถามเพิ่มเติม ประสงค์แจ้งเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมข้อมูลเพื่อความถูกต้อง หรือมีข้อเสนอแนะใดๆ สามารถติดต่อได้ที่ [email protected]
เขียนโปรแกรม
ออกแบบ
สืบค้นและรวบรวมข้อมูล
บรรณาธิการ
ประสานงานและจัดการอื่นๆ
ขอขอบคุณผู้ให้ข้อมูล
หากมีข้อสงสัยหรือคำแนะนำเพิ่มเติมใด ๆ เกี่ยวกับงานนี้
ทักมาหาพวกเราได้ที่ m.me/punchupworld